ลงประกาศฟรี
ค้นหาประกาศ

จับสัญญาณ การลงทุนที่เข้าข่ายธุรกิจ “แชร์ลูกโซ่” เสี่ยงถูกโกง

วิธีสังเกต การลงทุนธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ ที่มิจฉาชีพนำมาหลอกเงินจากผู้อื่น ก่อนหอบเงินหนีไป

จับสัญญาณ การลงทุน

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน” นี่คือคำเตือนที่สถาบันการเงินมักจะนำมาเตือนนักลงทุนเสมอ ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าไปเป็นผู้เล่นในตลาดการเงินของโลก ไม่ว่าจะเป็น หุ้น กองทุน ทอง หรืออัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างๆ pokdeng ซึ่งการลงทุนในทุกรูปแบบก็จะมาพร้อมกับ “ความโลภ” ที่จะเกิดขึ้นกับนักลงทุน เพราะทันทีที่เห็นกำไร หรือผลตอบแทนในอัตราที่สูงนั้น จะทำให้เหล่านักลงทุนเกิดความอยากได้ อยากมีไปโดยปริยาย หลายๆ ครั้งเรามักจะเห็นข่าวผู้เสียหายรวมตัวกันแจ้งความ หลังถูกหลอกให้ลงทุนในธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่จนสร้างมูลค่าความเสียหายหลายพันล้านบาท

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพนั้น Sanook Money ได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการจับสังเกตธุรกิจที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่มาฝากกัน

ข้อมูลจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ระบุว่า แชร์ลูกโซ่คือการฉ้อโกงประชาชนรูปแบบหนึ่งที่กำลังระบาดหนักในสังคมไทย โดยมีวิธีโน้มน้าวชักจูงเหยื่อหลากหลายรูปแบบ โดยส่วนใหญ่จะเชิญชวนให้สมัครสมาชิกร่วมลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีอยู่จริง อ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูงในระยะเวลาอันสั้น หรือการลงทุนของเหยื่อรายใหม่ มาจ่ายให้เหยื่อรายเก่าเป็นทอดๆ คล้ายลูกโซ่ ต่อมาเมื่อหาสมาชิกใหม่ไม่ได้ หรือการเงินเกิดสะดุด ก็จะหยุดจ่ายค่าตอบแทน ปิดกิจการหอบเงินหนีไป สร้างความเสียหายให้กับภาคเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล

วิธีสังเกตแชร์ลูกโซ่

  • การโฆษณา ประกาศ หรือเผยแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด เช่น อ้างถึงบุคคลที่ประสบความสำเร็จจากการเข้าร่วมลงทุน หรืออ้างหลักฐานผลประโยชน์และเงินจำนวนมากที่จะได้รับ
  • จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ย ที่สถาบันการเงินกำหนด
  • มีการนำเงิน หรือผู้ที่กู้ยืมเงินจากผู้อื่น มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ยืมเงิน
  • กิจการนั้นไม่น่าให้ผลประโยชน์ตอบแทนเพียงพอ ที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้
  • มีบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ชักชวนบุคคลต่างๆ ให้มีการกู้ยืมเงิน
  • ผู้ยืมเงิน จากผู้กู้ยืมเงินเกิน 10 คนขึ้นไป และมีจำนวนเงินตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ที่ต้องสงสัยกรณีอื่นๆ มาชักชวน
  • นำเงินโดยอ้างว่าจะไปลงทุน หรือประกอบธุรกิจให้
  • อ้างว่าเป็นการขายตรง แต่ไม่ต้องขายสินค้า
  • บริษัทเริ่มจัดตั้งได้ไม่นาน